การทำงาน ของ ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล

ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ประกอบธุรกิจฟาร์มไก่ และโรงพยาบาลเอกชน[4] เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ร่วมทีมกับ เนวิน ชิดชอบ และทรงศักดิ์ ทองศรี สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งยกทีม ส่งผลให้เขาเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ย้ายมาสังกัดพรรคเอกภาพ ร่วมกับนายเนวิน และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2

ในปี 2540 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม ร่วมทีมกับกรุณา ชิดชอบ และศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 ในนามพรรคชาติไทย ในปี 2545 เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายเนวิน ชิดชอบ) และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2547 หลังจากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จึงย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทยทั้ง 3 คน และได้รับเลือกตั้งเช่นเดิม และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายเนวิน ชิดชอบ)

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 4 ในนามพรรคพลังประชาชน ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ เขาจึงย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย พร้อมกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อนเนวิน

ในปี 2553 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หลังจากนั้นเขาก็วางมือทางการเมือง จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2558

ใกล้เคียง

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ประสิทธิ์ แดงดา ประสิทธิ์ วุฒินันชัย ประสิทธิ์ พยอมยงค์ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ประสิทธิ์ จุลละเกศ ประสิทธิ์ ผดุงโชค